เสียงข้างมาก เหนือกว่าเสียงข้างน้อย ?
จะขออธิบาย
คำว่า “เสียงข้างมาก กับ
เสียงข้างน้อย” ในปัจจุบันอย่างนี้ครับ
ถ้าในประเทศทุกคนคิดเหมือนกันหมดว่าเสียงข้างมากยอมรับกับสภาพสังคมและการปกครองที่เป็นอยู่
ก็ถือว่าจบครับ ไม่ต้องคิดต่อ
แต่เรื่องมันมีอยู่ว่า
เสียงข้างน้อยที่ว่านี้เขาก็มีสิทธิที่จะออกมาปกป้องการดำรงชีวิต
และอนาคตของลูกหลานของพวกเขาครับ
ดังนั้นถ้าจะอ้าง "ประชาธิปไตย"
ก็คงต้องมองให้ลึกถึงแก่นของคำว่า "ประชาธิปไตย"
ไม่ใช่เพียงแค่บอกว่ามีอยู่ 2 ฝั่งคือเสียงข้างมาก กับเสียงข้างน้อย เสียงข้างใดเยอะกว่าแล้วจะสามารถทำอะไรกับประเทศก็ได้ และในทางกลับกันเสียงข้างน้อยที่ออกมาเคลื่อนไหวโดยมีเป้าหมายกู้ชาติครั้งนี้ก็ไม่ได้หมายความว่าจะสามารถทำอะไรกับประเทศนี้ได้ทั้งหมดเช่นกัน
แต่ทั้งหมดทั้งปวงก็มีสิ่งหนึ่งครับที่ทุกคนจะได้ประโยชน์และควรจะคิดเผื่ออนาคตไว้ว่า "หากมีการปฏิรูปการเมืองการปกครอง ในครั้งนี้เกิดขึ้นได้ และสามารถยกระดับคุณภาพของสังคมไทย
ให้มีจริยธรรม ธรรมาภิบาลที่ดี อีกทั้งระบบของผู้พิทักษ์สันติราษฎ์
ให้เป็นไปอย่างถูกต้องยุติธรรม"
พวกคนที่เป็นเสียงข้างมากจะยินดีด้วยหรือไม่
แต่หากไม่เห็นด้วยหรือไม่ยินดี
มันก็จะเกิดคลื่นใต้น้ำ 2 ลูก อยู่ในประเทศไทยไปตลอด ยกตัวอย่างอย่างสมัยสงครามโลก ครั้งที่2
ที่ญี่ปุ่นยึดไทยเป็นฐานที่ตั้ง(เมื่อ 8 ธ.ค.2484) และประเทศไทยก็แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ
รัฐบาลกับขบวนการเสรีชน
ซึ่งรัฐบาลในสมัยนั้น คือ จอมพล ป.พิบูลย์สงคราม
ตกลงเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น(ฝ่ายอักษะ) แต่ฑูตไทยในอเมริกา ตอนนั้นคือ
หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ไม่ยอมรับทราบในการกระทำของรัฐบาล(คือการอารยขัดขืน) แล้วได้ติดต่อกับนายปรีดี พนมยงค์ ในเมืองไทย
เป็นผู้นำฝ่ายเสรีชน
จนกระทั่งเมื่อสงครามสงบ (เมื่อ 16 ส.ค.2488) ฝ่ายอักษะแพ้สงคราม ไทยก็แพ้ด้วยเพราะเป็นพันธมิตร แต่สุดท้ายไทยกลับประกาศว่าสงครามเป็นโมฆะ
ซึ่งอเมริกา เป็นผู้รับรอง และสุดท้ายไทยประกาศเลิกสงครามกับอังกฤษและฝรั่งเศษตามมา จากเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์นี้
ไม่แตกต่างจากสภาวะปัจจุบันของไทยแม้แต่น้อยครับ และครั้งนี้คนไทยก็ต้องเลือกทางออกให้กับประเทศอีกครั้งแล้วครับ
ว่าจะเลือกทางเดินให้กับประเทศอย่างไร
จะเลือกเป็นเสียงข้างมาก(พันธมิตรฝ่ายอักษะ)
หรือจะเลือกเป็นเสียงข้างน้อย(ขบวนการเสรีชน) By Special_Pong