วันศุกร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ติดตั้งระบบแก๊สรถยนต์ ภาค1 (เป็นเรื่องแรกของผมนะครับ)

ตัดสินใจ ติดตั้งระบบแก๊สรถยนต์ ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ (ภาค1)

          ในยุคปัจจุบัน  คงปฎิเสธไม่ได้เลยว่า  ค่าครองชีพในยุคนี้ มันแพงแสนแพง  ไม่ว่าจะเป็น ข้าวแกงริมถนน ตลอดจน ร้านดังๆบนห้างสรรพสินค้า  อีกทั้งผู้ที่ต้องเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัว  ที่ต้องแบกรับภาระหลายอย่าง  ไม่ว่าจะเป็น  ค่าประกันภัยรถยนต์ , ค่า พ.ร.บ. , ค่าซ่อมบำรุง ฯลฯ  แต่ปัจจัยหลักๆของผู้ขับรถยนต์ก็คือ "ค่าน้ำมัน" ที่นับวันมีแต่สูงขึ้น  โดยส่วนตัวผมใช้รถยนต์ Toyota Vios ปี 2007  จากเมื่อก่อนเติมน้ำมัน 1,000 บาท เต็มถัง  ตอนนั้นน้ำมันลิตรละประมาณ 23-25 บาท (โซฮอล์ 91 E10) แต่ปัจจุบันราคาน้ำมันวิ่งใกล้แตะ 40 บาทต่อลิตร เข้าไปทุกที ( น้ำมันบางชนิดทะลุ 40 บาทไปแล้ว) ปัจจุบันเติม 1,500 บาท ยังไม่เต็มถังเลยครับ
   
          หลังจากที่ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น  จึงทำให้ผมคิดที่จะลดต้นทุนทางด้านเชื้อเพลิง  ซึ่งในตอนนั้น (ปี 2553) ผมก็ได้หาข้อมูลผลิตภัณฑ์ที่ช่วยประหยัดน้ำมัน  ซึ่งในตอนนั้นผมได้รู้จักเจ้ากล่อง ECU ที่มีชื่อว่า E-KIT  ที่โฆษณาว่า หากติดตั้งเจ้ากล่องนี่แล้ว  เครื่องยนต์จะสามารถเติมน้ำมัน E85 ได้  จึงทำให้ผมคิดที่จะติดเจ้ากล่องนี้จริงๆ  เพราะว่าจ่ายเพียง 7,000 บาท ก็สามารถติดตั้งเจ้ากล่องนี้ได้ทันที  จึุงทำให้ในระหว่างนั้น  ผมได้หาข้อมูลมาเรื่อยๆ ทั้งจากการสอบถามผู้ชำนาญเรื่องเครื่องยนต์ , วิศวะเครื่องกล , เซลส์ขายรถยนต์(ที่มีประสบการณ์สูง) บวกกับได้โทรไปสอบถามจากผู้ผลิต  ซึ่งได้คำตอบดังนี้

  • จากผู้ผลิต   :  สามารถติดตั้งได้เลย  และไม่จำเป็นต้องทำอะไรเพิ่มเติม  ที่ผ่านมารถยนต์ที่ติดตั้งไม่เคยมีปัญหาใดๆแม้แต่คันเดียว  ( ผมฟังดูแล้ว กล่องอะไรมันจะเทพขนาดนั้น ลงทุนเพียง 7,000 บาทเท่านั้น)
  • จากผู้ชำนาญเครื่องยนต์ , วิศวะเครื่องกล , เซลส์ขายรถยนต์(ที่มีประสบการณ์)  :  ให้ความเห็นตรงกันว่า กล่อง ECU ที่จะนำมาติดตั้งนั้น  มีโอกาสเป็นไปได้ที่จะไปสั่งการให้เครื่องยนต์ ให้เปลี่ยนการจุดระเบิด และการจ่ายน้ำมัน ให้รองรับกับน้ำมัน E85  แต่เรื่องของความเสถียรของระบบ  อาจจะมีความไม่คงที่ได้  และอีกเรื่องหนึ่งที่น่าจะมีปัญหาคือ เรื่องของท่อส่งน้ำมัน  ซึ่งมีโอกาสเป็นไปได้สูงที่ไม่สามารถทนต่อปริมาณแอลกอฮอล์  ที่อยู่ในน้ำมัน E85 ได้  ซึ่งหากจะติดตั้งจริงๆควรจะต้องเปลี่ยนเจ้าท่อนี้ด้วย
          จากข้อคิดเห็นต่างๆของผู้ชำนาญ วิศวะ เซลส์  ยังมีคำพูดหนึ่งที่่พวกเขาเหล่านี้บอกตรงกันก็คือ "ถ้ากล่องที่ว่านี้มัน Work จริงๆ คนคงติดตั้งเยอะแยะแล้ว" จากคำพูดนี้  ทำให้ผมนึกภาพตามและเห็นด้วย  จึงล้มเลิกความคิดที่จะติดตั้งกล่อง E-KIT นี้ไป


          จากการที่ผมยังมีความต้องการประหยัดค่าพลังงานเชื้อเพลิงอยู่  จึงได้ปรึกษาเพื่อนๆที่มีประสบการณ์เคยติดตั้งแก๊สรถยนต์  ซึ่งในตอนนั้นต้องขอบอกตามตรงเลยว่า "กลัวเครื่องยนต์พังมาก" ไม่ว่าจะเคยได้ยินว่า  ติดตั้งแล้วเครื่องจะแห้ง , อัตราการเร่งจะลดลง , เครื่องยนต์ร้อนกว่าเดิมและทำให้สึกหรอเร็วขึ้น  จึงไม่ค่อยมั่นใจว่าจะติดตั้งแก๊สรถยนต์แล้วมันจะคุ้มค่าจริง  จึงทำให้ผมได้แต่หาข้อมูลไปเรื่อยๆ

            จนกระทั่งในปี 2555 ผมได้ตัดสินใจว่าจะติดตั้งระบบแก๊สรถยนต์แล้ว ( อารมณ์แบบว่า ไม่ไหวกับราคาน้ำมันที่วิ่งขึ้นแล้ว)  สาเหตุหลักๆที่ติดก็คือ แก๊สมีราคาถูก ( 13.98 บาทต่อลิตรตั้งแต่ตอนนั้น จนถึงปัจจุบัน)  ส่วนขั้นตอนต่อไปก็คือ จะเลือกติด LPG หรือ NGV  สุดท้ายผมเลือกติด LPG ด้วยเหตุผล 2 ข้อหลักๆ ดังนี้ครับ



  1. LPG มีการเผาไหม้จากก๊าสต่ำกว่า NGV ( LPG  ประมาณ 400 องศา  ส่วน NGV ประมาณ 500 องศา )
  2. ขนาดของถังแก๊ส LPG สามารถจุได้มากกว่า NGV ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากก๊าส NGV มีความดันที่สูงกว่า LPG จึงทำให้ต้องมีความหนาของถังที่หนากว่าถัง LPG ( สิ่งนี้สำคัญมาก เพราะเวลาเดินทางต่างจังหวัดที ต้องแวะเติมบ่อยแน่ๆ) เพื่อนที่เป็นวิศวะเครื่องกล เขาบอกว่าที่ทำงานเขา(โรงไฟฟ้า) ใช้แก๊ส NGV หรืออีกชื่อคือ CNG เป็นก๊าสที่ใช้ในโรงไฟฟ้า เนื่องจากว่ามีแรงดันที่สูงมาก  หากคิดจะติดเจ้าตัวนี้จริงๆ ก็เหมือนกับพกลูกระเบิดไว้หลังรถเลยทีเดียว
          จากเหตุผลต่างๆข้างต้นจึงทำให้ผมได้เลือกติดตั้งระบบแก๊ส LPG  ครับ  ในส่วนของการตัดสินใจ ที่จะติดตั้งระบบแก๊สรถยนต์คงขอจบไว้เีพียงเท่านี้ก่อนครับ  ในครั้งหน้า  จะมาลงในส่วนของเรื่องของความคุ้มค่า และปัญหาจากการติดตั้งระบบแก๊สรถยนต์ของผมครับ     By Special_Pong

                                                                                                                                                                                                                   

                                                                         


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น