เริ่มต้นรู้จัก
“กองทุนรวม”
อย่างที่ได้เกริ่นไว้ในเรื่องก่อนหน้าว่าจะขอพูดถึงเรื่องกองทุนรวม
ซึ่งเป็นเรื่องที่โดยส่วนตัวคิดว่าเป็นเรื่องที่สำคัญในการวางแผนทางการเงิน และผมก็เชื่อว่า “กองทุนรวม” เป็นสิ่งที่หลายคนเคยได้ยิน
และอยากจะสัมผัสดูสักครั้ง
แต่ด้วยเหตุผลหลายประการที่ทำให้ยังไม่ได้สัมผัสเจ้ากองทุนรวมสักกะที ก่อนอื่นเลยนะครับ
ต้องขออนุญาติเล่าเรื่องส่วนตัวเกี่ยวกับการลงกอทุนในตลาดเงินสักหน่อยนะครับ คือว่าตัวผมเนี่ยเคยเป็นเจ้าหน้าที่การตลาดหลักทรัพย์(Marketing) หรือที่คนทั่วไป
ชอบเรียกติดปากว่า “โบรกเกอร์” แต่อันที่จริงแล้ว คำว่าโบรกเกอร์
คือบริษัทหลักทรัพย์
ส่วนเจ้าหน้าที่แนะนำและคีร์คำสั่งซื้อ-ขาย หลักทรัพย์ เขาเรียกว่า Marketing ซึ่งตอนนั้นประมาณปี 2550 และต่อมาได้ลงทุนในตลาดหุ้นเองเมื่อประมาณปี
2552
และล่าสุดได้เข้ามาลงทุนในกองทุนรวมครั้งแรกเมื่อ 27 มีนาคม 2555 ในส่วนเรื่องตลาดหุ้นอย่าพึ่งไปสนใจนะครับ (
เอาไว้ในโอกาสหน้าจะมาเล่าประสบการณ์ให้ฟังครับ )
ครั้งนี้จะขอโฟกัสเฉพาะกองทุนรวมก่อนครับ
เอาเป็นว่าพอจะรู้ประสบการณ์คร่าวๆในการลงทุนของผมบ้างแล้ว งั้นขอเริ่มต้นด้วยความหมายของคำว่า
“กองทุนรวม” โดยใช้ภาษาแบบง่ายๆอธิบายนะครับ
กองทุนรวม คือ
สถาบันหรือบริษัท ที่อาสานำเงินของผู้ที่ต้องการลงทุน ไปบริหารแทนเจ้าของเงิน โดยมีเงื่อนไขการลงทุนตามนโยบายที่ได้วางไว้ ซึ่งเจ้าของเงินจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมให้กับ
สถาบันหรือบริษัทนั้นๆ
เอาเป็นว่าเพื่อนๆพอจะเข้าใจความหมายของกองทุนรวมกันไปแล้วนะครับ
งั้นเรามาเริ่มรู้จักกองทุนให้มากขึ้นกันเลยนะครับ ขอดำเนินเรื่องแบบคำถาม-คำตอบ
นะครับ โดยจะเน้นคำถามที่มีข้อสงสัยก่อนบ่อยๆนะครับ
กองทุนมีกี่แบบ ?
กองทุนมีอยู่
2 แบบนะครับ คือกองทุนเปิด
และกองทุนปิด
สิ่งที่แตกต่างระหว่างกองทุนเปิด กับกองทุนปิด ก็คือ ระยะเวลาในการลงทุน ซึ่งกองทุนเปิดจะไม่มีวันครบกำหนด ส่วนกองทุนปิดจะมีระยะเวลาครบกำหนด ( 5ปี 7ปี
อะไรประมาณนี้)
แต่ครั้งนี้จะขอเน้นไปในส่วนของกองทุนเปิดนะครับ
หน่วยลงทุนคืออะไร ?
หน่วยลงทุน
ก็คือ การนำเงินมารวมกันเพื่อนำไปลงทุน
โดยสถาบันหรือบริษัทที่จัดตั้งกองทุนรวม
จะเป็นผู้กำหนดราคาของหน่วยลงทุนนั้นๆ(กรณีเริ่มขายกองทุนเป็นครั้งแรก) และให้ผู้ที่จะลงทุนนำเงินมาฝาก
โดยที่ผู้ลงทุนจะได้รับหน่วยลงทุนไปถือแทนเงินสด
เงินปันผล คืออะไร ? มันเหมือนดอกเบี้ยหรือไม่ ?
เงินปันผล ก็คือผลตอบแทนที่ได้จากหน่วยลงทุน ก็เปรียบได้กับดอกเบี้ย
ที่เป็นผลตอบแทนจากเงินฝาก แต่จะแตกต่างกันตรงที่
ดอกเบี้ย เขากำหนดจ่ายแน่นอนตามที่ได้ระบุวันไว้
ส่วนของกองทุนอาจจะมีจ่ายบ้างไม่จ่ายบ้าง ตามผลประกอบการครับ
Dividend Yield ที่เขาเรียกๆกัน
มันคืออะไร ?

อยากซื้อหน่วยลงทุนน่ะ แต่มีเงินน้อยซื้อได้มั๊ย ?
บอกตรงนี้เลยครับว่าเงินน้อยก็ซื้อได้
แถมซื้อครั้งล่ะน้อยๆได้เปรียบกว่าซื้อก้อนใหญ่ทีเดียว
(ไว้อธิบายในตอนต่อไปนะครับ) โดยส่วนใหญ่ตอนเปิดบัญชีกองทุนรวม ขั้นต่ำประมาณ 1,000 –
2,000 บาทเท่านั้นครับ หลังจากนั้นก็ฟรีสไตร์
(หรือถ้าพูดกันง่ายๆก็ตามบาย)
แล้วเขาเอาเงินเราไปลงทุนที่ไหน
?
ทั่วๆไปก็จะนำเงินเราไปลงทุนใน
หุ้น , พันธบัตรรัฐบาล , เงินฝาก
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับนโยบายของกองทุนแต่ละกองครับ
แต่ผมขอโฟกัสไปกองทุนที่เขาเน้นลงทุนในหุ้นนะครับ
ที่เขาว่าการลงทุนมีความเสี่ยง ไม่เข้าใจง่ะว่าเสี่ยงแบบไหน ? ขอเน้นความเสี่ยงหลักๆ 2 ตัว ดังนี้
-
ความเสี่ยงทางด้านราคา คือ การที่ราคา ณ ปัจจุบัน
มีราคาที่ลดต่ำลงกว่าราคาที่เราซื้อไว้ก่อนหน้านี้ ซึ่งความเสี่ยงชนิดนี้ผมเชื่อว่า หลายๆคนประสบอยู่
และก็เป็นความเสี่ยงที่คนส่วนใหญ่กังวลครับ (แต่ไม่ต้องกลัวครับ อาจารย์ผมเขาถ่ายทอดวิชายุทธที่สามารถเอาชนะความเสี่ยงนี้ไว้แล้วครับ)
-
ความเสี่ยงทางด้านค่าเสียโอกาศ คือ
การที่ผลตอบแทนในรูปแบบอื่นมีอัตรากำไรที่ดีกว่ากองทุนที่เราถืออยู่ สมมติว่า
กองทุนให้ Dividend Yield =
10% ต่อปี
แต่สมมติว่าในอนาคตอัตราดอกเบี้ยปรับเพิ่มเป็น 12% ต่อปี
เท่ากับว่าเราขาดทุนจากการเสียโอกาสที่จะ นำเงินไปฝากเท่ากับ 2% (ขาดทุนกำไรนะครับ ไม่ใช่ติดลบ)
จากที่ผมได้เกริ่นนำมา
(เกริ่นยาวไปมั๊ยเนี่ย)
เป็นเพียงสิ่งพื้นฐานที่ผู้ลงทุนจะต้องทราบนะครับ แต่ทั้งนี้เพื่อนๆก็อย่าพึ่งใจร้อนไปรีบเปิดกองทุนนะครับ
เพราะว่ามันเป็นเพียงแค่สิ่งพื้นฐานที่ควรรู้เท่านั้นครับ
(อย่ารีบใจร้อนออกสู่สนามรบครับ เดี๋ยวจะโดนข้าศึกยิงเอาได้)
เอาเป็นว่าท้ายสุดนี้ผมขอเปิดตัวผู้ที่ชักนำผมให้ซื้อกองทุนรวม
กันก่อนเลยดีกว่า ซึ่งผมขอยกย่องให้เป็นอาจารย์ของผมนะครับ เขามีนามว่า “อาจารย์อุ้น”
(จริงๆก็คือเพื่อนสนิทกันล่ะครับ) คนนี้จบวิศวะครับ แรกๆก็ลงทุนในตลาดหุ้นก่อนเลยครับ น่าจะประมาณ 7-8 ปีที่แล้ว และต่อมาตอนที่ผมได้เริ่มเป็น Marketing ครั้งแรกก็ชวนเข้ามาเป็นลูกค้าในพอร์ท
ในตอนนั้นต้องขอยอมรับตามตรงครับว่า
Marketing ก็ “มั่ว”
ลูกค้าก็ “เม่า(ย่อมาจาก แมงเม่า)” แบบว่าลงทุนแบบ มั่วๆ กับ เม่าๆ
กันเลยทีเดียว
หลังจากนั้นอาจารย์อุ้น
เขาเริ่มคิดได้ว่าที่ลงทุนมาคือการมั่ว และเม่าเป็นที่สุด
จึงได้เริ่มศึกษาอ่านหนังสือแนวลงทุนแบบ Value Invester (VI) จนปัจจุบันผมว่าเพื่อนผมคนนี้เขาเป็นนักลงทุน
VI แบบเต็มตัวแล้วล่ะครับ
ซึ่งมันทำให้ผมอยากจะแชร์ในสิ่งที่ “อาจารย์อุ้น”
ได้ถ่ายทอดแนวทางการลงทุนในรูปแบบของ VI ให้เพื่อนๆลองปฎิบัติกันดูครับ
สำหรับบทความในครั้งนี้เป็นเพียงการเริ่มรู้จักกับ “กองทุนรวม”
สำหรับเพื่อนๆที่มีพื้นฐานดีอยู่แล้วก็ขอให้รอสักหน่อยนะครับ ในครั้งหน้าผมจะเริ่มเรื่อง “การเลือกกองทุน
และกลยุทธ์ในการซื้อหน่วยลงทุน”
ฝากติดตามผลงานกันด้วยนะครับ
ขอบคุณครับ By Special_Pong
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น