ลงทุนในกองทุน อย่างไรให้ปลอดภัย
หลายๆคนคงรู้จักกองทุนรวม
และอีกหลายๆคนคงเคยได้ลงทุนในกองทุนรวมกันบ้างแล้ว บางคนก็ประสบความสำเร็จ บางคนก็เจ็บตัว เจ็บใจมาไม่ใช่น้อย เอาเป็นว่าคนที่เคยประสบความสำเร็จ คุณมั่นใจหรือไม่ว่าที่คุณว่ากำไร มันโชคช่วย
หรือฝีมือ และสำหรับคนที่เจ็บตัว
ก็ลองศึกษาวิธีการลงทุนอย่างไรให้ปลอดภัยที่ผมกำลังจะแนะนำกันดูนะครับ
งั้นขอเริ่มต้นความสำคัญลำดับแรกในการลงทุนกันเลยครับ
ผู้ลงทุนต้องทราบวัตถุประสงค์ในการลงทุนที่แน่ชัด คือ
คนที่จะเริ่มลงทุนในกองทุนรวมนั้น
จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหาความต้องการของตัวเองให้เจอเสียก่อน มิเช่นนั้นคุณจะไม่สามารถเลือกกองทุนที่เหมาะสมกับตัวคุณได้
และคุณจะหลงทางไปตลอดในเส้นทางการลงทุนของคุณ
ตัวอย่างเช่น ผมตั้งเป้าหมายในการซื้อกองทุนก็เพื่อ
จะมีสวัสดิการในยามเกษียณอายุ
ระยะเวลาที่ผมคาดหวังคือ 20 – 30 ปี โดยที่ผมต้องการมีเงินตอนเกษียรอายุเป็นจำนวน
10 ล้านบาท ( เป็นตัวเลขในการลงทุนที่ผมคาดการไว้จริงๆครับ)
จะเลือกซื้อกองทุนรวมอย่างไร
ตัวไหนดี มันดูยังไง ?
อันนี้เป็นขั้นที่
2 ภายหลังที่เราได้ทราบเป้าหมายที่เราวางไว้แล้วครับ หลักในการเลือกซื้อกองทุนหลักๆนะครับ มีดังนี้
1.) ให้ดูผลประกอบการย้อนหลังไปประมาณ 5 – 10 ปี
ว่าผลการดำเนินงานดีกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดหรือไม่ ซึ่งตรงนี้สามารถไปศึกษาได้จาก “หนังสือชี้ชวน”
ของกองทุนรวมนั้นๆ
2.)
หากเป็นไปได้ควรให้น้ำหนักไปที่ กองทุนรวมที่ฝ่าวิกฤตปี 2540 มาได้ เนื่องจากกองทุนดังกล่าวมีการบริหารความเสี่ยงได้ดี
ซึ่งทำให้เรามั่นใจได้พอสมควรว่าเงินต้นเราจะไม่หายไปไหนง่ายๆ และในทางกลับกันควรระมัดระวังกองทุนรวม
ที่พึ่งจัดตั้งและมีผลประกอบการร้อนแรงในช่วงเริ่มต้นไว้ให้ดี
3.) กองทุนรวมที่ดี
และที่เหมาะสมกับนักลงทุนที่คาดหวังระยะยาว
ควรจะต้องมีเงินปันผล
และมีการจ่ายเงินปันผลอย่างสม่ำเสมอ (ไม่จำเป็นต้องทุกปี
เพราะช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ คงไม่มีกองทุนรวมที่ไหนทะลึ่งจ่ายแน่นอน )
4.)
หากเป็นไปได้ควรเข้าไปดูนโยบายการบริหารของแต่ละกองทุน ว่ามีหลักในการบริหารอย่างไร ยกตัวอย่าง ในกรณีของผมละกันครับ ปัจจุบันผมซื้อกองทุนบัวแก้วปันผล(ของ
ธ.กรุงเทพ) เขามีนโยบายการบริหาร แบบเน้นระยะยาว
และเน้นการลงทุนแบบระมัดระวัง
ซึ่งหมายความว่าในช่วงที่ตลาดหุ้นร้อนแรง
กองทุนนี้ก็กำไรไม่สูงเท่ากับกองทุนอีกหลายๆตัว(แต่ก็มีกำไรที่ไม่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดหุ้น) แต่ในทางกลับกันหากปีใดตลาดหุ้นเริ่มแย่ กองทุนนี้ก็จะขาดทุนน้อยกว่ากองทุนอื่นๆ
ที่มุ่งเน้นผลกำไร มากกว่าความระมัดระวัง เป็นต้น
5.)
สุดท้ายอันนี้
ถ้าคุณมีเวลาว่างพอก็ควรจะสืบหาประวัติผู้บริหารกองทุน
ที่เราจะเลือกลงทุน
ว่าเขาเป็นใครมาจากไหน
มีประสบการณ์ทางด้านใด
แล้วเขามีวิสัยทัศน์อย่างไร
และที่สำคัญที่สุดในบทสัมภาษณ์เขามีการตอบประเด็นที่ตรงไปตรงมาหรือไม่ หรือที่เราเรียกว่า “การมีธรรมาภิบาล”
ที่ดีหรือไม่
การซื้อกองทุนที่ถูกต้อง
และสามารถเอาชนะตลาดได้
ขอนี้เป็นหัวใจสำคัญที่สุด
สำหรับนักลงทุน
ผมเชื่อว่านักลงทุนส่วนใหญ่ไม่ทราบวิธีการนี้
และผมก็เชื่อต่อว่าถึงนักลงทุนหลายๆคนจะรู้วิธีการนี้แต่ก็ไม่คิดที่จะทำ
เพียงเพราะพวกเขามองไม่เห็นผลในระยะยาวนั่นเอง วิธีการดังกล่าว เป็นวิธีการที่อาจารย์อุ้น
เขาได้สอนผมมา
ซึ่งในตอนแรกผมก็ยังไม่ค่อยจะเข้าใจสักเท่าไหร่ วิธีนี้เรียกว่า “การเฉลี่ยซื้อ”
การเฉลี่ยซื้อ
คือ การแบ่งเงินจำนวนที่เท่ากันทุกๆเดือนเพื่อซื้อหน่วยลงทุน โดยไม่ต้องไปสนใจว่าราคาหน่วยลงทุนจะขึ้น
หรือลงอย่างไร
วิธีการซื้อลงทุนในระยะยาวที่ถูกต้อง
มีดังนี้
1.)
ตั้งเป้าหมายในอนาคตว่าต้องการมีเงินตอนเกษียรเท่าไหร่ แล้วจากนั้นก็มาคำนวณหาว่าเราจะต้องซื้อเฉลี่ยซื้อกองทุนรวม
เดือนละเท่าไหร่ ยกตัวอย่างเช่น ต้องการเงินตอนเกษียณอีก 30
ปีข้างหน้าเป็จำนวนเงิน 4 ล้านบาท โดยคาดหวังว่าอัตราผลตอบแทนเงินปันผลอยู่ที่ 10% (อันนี้ผมสมมติแบบกลางๆนะครับ)
จะได้เงินลงทุนที่จะต้องเฉลี่ยซื้อต่อเดือนอยู่ที่ 2,000 บาท)
เป็นยังไงบ้างครับ
ดูเหลือเชื่อมั๊ยครับ ออมเดือนละ
2,000 บาท อีก 30 ปีข้างหน้า มีเงินก้อน 4 ล้านบาท
2.)
เงินปันผลที่ได้รับมาในแต่ละรอบของปี ให้เพื่อนๆ
เอาเงินจำนวนดังกล่าวซื้อกลับเข้าไปในกองทุนรวมนะครับ ที่เขาเรียกว่า “Reinvestment”
หรือถ้าเป็นศัพท์ในวงการเงินฝากเขาเรียกว่า “ดอกเบี้ยทบต้น”
เพื่อนๆเชื่อหรือไม่ครับ ว่า อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เขายกย่องให้วิธีการ ดอกเบี้ยทบต้น ว่าเป็น "แรงที่มีพลังที่สุดในโลก" เลยทีเดียว
3.)
ถ้าในระหว่างปี มีเหตุการบางอย่างทำให้กองทุนนั้นๆ
มีการปรับตัวลง เพื่อนๆไม่ควรเข้าไปซื้อเพิ่มเติมนะครับ เพราะอันนี้ผมเจอเข้ากับตัวแล้ว เนื่องจากว่าไม่มีใครรู้หรอกครับ
ว่าราคาที่ปรับตัวลงนั้นมันจะไม่ปรับตัวลงมาอีก
ยิ่งถ้าเราไปซื้อเก็บไว้จำนวนมากๆ
มันจะทำให้ราคาต้นทุนเฉลี่ยสูงขึ้นตามไปด้วยครับ ตามตัวอย่างข้างล่างนี้ครับ เป็นราคาที่ผมซื้อจริงๆครับ
วันที่ซื้อ
|
ราคาซื้อ
|
จำนวนหน่วย
|
คิดเป็นเงิน
|
มูลค่าสะสม
|
27/3/2012
|
4.9425
|
404.6535
|
2,000
|
2,000
|
27/4/2012
|
5.1226
|
390.4267
|
2,000
|
4,000
|
28/5/2012
|
4.9278
|
405.8606
|
2,000
|
6,000
|
27/6/2012
|
5.0603
|
395.2334
|
2,000
|
8,000
|
27/7/2012
|
5.1204
|
390.5944
|
2,000
|
10,000
|
12/9/2012
|
4.5462
|
3299.4588
|
15,000
|
25,000
|
27/9/2012
|
4.6846
|
426.9307
|
2,000
|
27,000
|
29/10/2012
|
4.7225
|
433.5045
|
2,000
|
29,000
|
27/12/2012
|
5.3197
|
375.9611
|
2,000
|
31,000
|
28/1/2013
|
5.5938
|
357.5387
|
2,000
|
33,000
|
18/3/2013
|
5.3816
|
4645.4586
|
25,000
|
58,000
|
27/3/2013
|
5.2728
|
379.3051
|
2,000
|
60,000
|
29/4/2013
|
5.2927
|
377.8789
|
2,000
|
62,000
|
27/5/2013
|
5.1995
|
384.6523
|
2,000
|
64,000
|
29/7/2013
|
4.7235
|
423.4148
|
2,000
|
66,000
|
27/8/2013
|
4.2888
|
466.3309
|
2,000
|
68,000
|
27/9/2013
|
4.6848
|
426.9125
|
2,000
|
70,000
|
28/10/2013
|
4.7906
|
417.4842
|
2,000
|
72,000
|
ราคาเฉลี่ย
|
4.9819
|
มาถึงตรงนี้เพื่อนๆทราบหรือไม่ครับว่า การซื้อแบบเฉลี่ย มันดียังไง
หากเรามีวินัยซื้อแบบต่อเนื่องตามแผนที่เราวางไว้ จะทำให้เรามีราคาของหน่วยลงทุน
หลากหลายราคา เพราะว่าเราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าราไหนแพง
ราคาไหนถูก
แต่พอเรานำมารวมกันแล้วหาคาเฉลี่ยเราก็จะได้สิ่งมหัศจรรย์ คือ
ราคากลาง ซึ่งตามตัวอย่างด้านบน ราคาเฉลี่ยคือ 4.9819 บาท/หน่วย ถ้าคิด ณ วันที่ 28/10/2013 ราคาตลาดเท่ากับ 4.7906 บาท/หน่วย ถ้าผมขายผมจะขาดทุนเพียง 0.1913 บาท/หน่วย ในทางกลับกันถ้าผมไม่ซื้อเฉลี่ย แต่ผมไปซื้อช่วงราคาในวันที่ 28/1/2013 ทุกบาททุกสตางค์ในครั้งเดียว ผมจะขาดทุนเท่ากับ 0.8032 บาท/หน่วย เพื่อนๆคงจะเห็นข้อดีของกลยุทธ์การซื้อเฉลี่ยแล้วนะครับ สุดท้ายนี้นะครับอยากจะขอให้เพื่อนๆปรับทัศนะคติในการลงทุนว่า "การลงทุนในตลาดเงินไม่สามารถทำให้รวยได้ในระยะสั้น แต่นักลงทุนต้องเน้นการลงทุนในระยะยาวเพื่อความเป็นไปได้ที่สูงกว่าครับ" มาถึงตรงนี้ก็ขอฝากผลงานตามเช่นเคยครับ และวันนี้ก็น่าจะพอหอมปากหอมคอกันไม่มากก็น้อยนะครับ
เดี๋ยวในครั้งหน้าจะมาแชร์ประสบการณ์แมงเม่าในตลาดหุ้นให้ฟังครับ By Special_Pong
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น