วันศุกร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ฺBlacklist เครดิตบูโร สุขภาพทางการเงินที่ไม่ควรมองข้าม

                BLACKLIST เครดิตบูโร สุขภาพทางการเงินที่ไม่ควรมองข้าม

            หลายๆคนเคยสงสัย  และค้างคาใจอยู่ตลอด  ว่าอะไรคือ BLACKLIST  แล้วเราติดหรือยัง  ถ้าเราติดแล้วเราจะกู้ได้หรือไม่  แล้วมันจะมีผลกระทบอะไรกับเราบ้าง และสุดท้ายพอจะมีหนทางไหนบ้างที่เราจะรอดพ้นการติด BLACKLIST  ซึ่งฟังดูแล้วเหมือนวงจรที่ไม่ค่อยสู้ดีนักหากติดเจ้า BLACKLIST นี่เข้าไปจริงๆ  งั้นมาเริ่มรู้จักเจ้า BLACKLIST นี้เลยล่ะกันครับ

                ก่อนอื่นเลยต้องขอแนะนำตัวก่อนครับ  เผอิญว่าผมได้มีโอกาสทำงานเป็นเจ้าหน้าที่สินเชื่อในธนาคาร(หลายแห่งแล้วครับ)  ซึ่งที่ผ่านมาก็มีทั้งลูกค้าที่ติด BLACKLIST และลูกค้าที่ไม่ได้ติด   บางรายก็ยอมรับตามตรงว่าตัวเองติด  แต่บางรายเถียงหัวชนฝาเลยครับว่าไม่ติด แต่พอตรวจสอบเครดิตบูโรแล้วก็ไม่เหลือครับ  งั้นเรามาเริ่มรู้จักหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเครดิตบูโรกันก่อนนะครับ ดังนี้ครับ
บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (ที่พวกเราเรียกติดปากกันว่าเช็คบูโร น่ะครับ)  คือ หน่วยงานที่รวบรวมประวัติการชำระเงินกู้ของพวกท่านๆ เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ทุกคนนี่แหละครับ  เงินกู้ที่ว่านี้  ตั้งแต่วงเงินกู้ที่สร้างโรงแรม 5 ดาว  , โรงงานขนาดใหญ่ๆ , รถยนต์ยี่ห้อหรูๆ  ตลอดจนโทรศัพท์มือถือ (I-Phone , I-Pad)  คือแบบว่าไม่ว่าสินค้าอะไรก็ตามที่ท่านๆต้องผ่อนสถาบันการเงินกันน่ะครับ  สรุปก็คือถ้าคุณเกิดการกู้  คุณก็จะได้รับเกียรติให้ เครดิตบูโร จดบันทึกประวัติการผ่อนชำระของท่าน  ถึงแม้ว่า ใครจะหัวหมอเปลี่ยนชื่อตัว เพียงคิดว่าคงหนีการจดบันทึกของ เครดิตบูโร ได้  แต่ขอบอกไว้ตรงนี้เลยครับ  ว่าเขาตามจากเลขบัตรประชาชนครับ (หากใครคิดว่าแน่จริงก็ลองเปลี่ยนเลขบัตรประชาชนให้ได้นะครับ 555)


ธนาคาร                 คือ แบบว่าที่ผมต้องอธิบายความหมายของธนาคาร  ก็เพราะว่ายังมีสถาบันการเงินอีกกลุ่มที่  ปล่อยกู้แต่ไม่ได้ทำธุรกิจธนาคารน่ะครับ  ซึ่งความหมายของธนาคารคงไม่ต้องอธิบายอะไรมากมายนะครับ  เป็นที่รู้กันธนาคารทำหน้าที่ ฝากเงิน – ถอนเงิน ปล่อยกู้เงิน ภายใต้กฎเกณฑ์ของลูกพี่ใหญ่ ซึ่งก็คือ ธนาคารแห่งประเทศไทย  เอาแค่นี้พอครับความหมายแบบง่ายๆ



สถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร หรือที่ทางทีวีชอบเรียกกันว่า นันท์แบงค์ (Non-Bank)  คือ  หน่วยงานที่ปล่อยเงินกู้ที่นอกเหนือจากธนาคาร  อันนี้มีกันมากมาย  ไม่ว่าจะเป็น สหกรณ์ในรูปแบบต่างๆ , ประกันชีวิต , พวกปล่อยบัตรกดเงินสด (เช่น ยูเม่ พลัส , อิออน เป็นต้น) , บริษัทลิสซิ่งทั้งหลาย (เช่น ฮอนด้าลิสซิ่ง ,โตโยต้าลิสซิ่ง เป็นต้น ส่วนพวกธนชาต ,ทิสโก้ จัดอยู่ในประเภทธนาคาร)  รวมไปจนถึงคนปล่อยเงินกู้ ทั่วไป( แต่อย่างหลังสุดนี่ผิดกฎหมายนะครับ 555 )




                มาถึงตรงนี้เราก็ได้รู้จักเบื้องต้นผู้ที่เกี่ยวข้อง 3 สถาบันกันไปแล้ว  ทีนี้มาดูกันนะครับ  ว่าพวกเขามีความเชื่อมโยงกันยังไง  อธิบายสั้นๆง่ายๆเลยครับ  “ธนาคาร และ นันท์แบงค์ ที่เป็นสมาชิกอยู่กับ เครดิตบูโร  จะทำการจดบันทึกประวัติการผ่อนชำระของลูกหนี้ เพื่อส่งต่อไปให้บริษัท ข้อมูล เครดิตแห่งชาติ จำกัด  ทำการบันทึกข้อมูล ไว้เป็นศูนย์กลางข้อมูล เพื่อที่จะให้เป็นแหล่งตรวจสอบข้อมูลการผ่อนชำระของลูกหนี้”

                จากความหมายที่กล่าวไว้ข้างต้น  จะเกิดข้อสงสัยว่า  แล้วใครเป็นสมาชิกเครดิตบูโรบ้าง  ขออธิบายเพิ่มเติมว่าถ้าหน่วยงานที่ปล่อยเงินกู้อื่นที่ไม่เป็นสมาชิกกับบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด  เวลาตรวจสอบเครดิตบูโร จะไม่ขึ้นประวัตินะครับ   งั้นกลับเข้าเรื่องกันต่อครับ  สมาชิกเครดิตบูโรมีดังนี้

ลำดับ
ตัวย่อ
ประเภท
ชื่อเต็ม
1
BAY
BANK
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
2
BBL
BANK
ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
3
BOCBKK
BANK
ธนาคารแห่งประเทศจีน จำกัด สาขากรุงเทพมหานคร
4
CIMBT
BANK
ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน)
5
CITI
BANK
ธนาคารซิตี้แบงก์
6
EXIM
BANK
ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
7
GHB
BANK
ธนาคารอาคารสงเคราะห์
8
GSB
BANK
ธนาคารออมสิน
9
HSBC
BANK
ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้แบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น จำกัด
10
ICBCT
BANK
ธนาคารไอซีบีซี (ไทย) จำกัด (มหาชน)
11
ISBT
BANK
ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
12
KBANK
BANK
ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
13
KK
BANK
ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน)
14
KTB
BANK
ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
15
LH
BANK
ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน)
16
MEGAICBC
BANK
ธนาคาร เมกะ สากลพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
17
SCB
BANK
ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
18
SCBT
BANK
ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน)
19
SMEBANK
BANK
ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย
20
TBANK
BANK
ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)
21
TCRBANK
BANK
ธนาคารไทยเครดิต เพื่อรายย่อย จำกัด (มหาชน)
22
TISCO
BANK
ธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน)
23
TMB
BANK
ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)
24
UOBT
BANK
ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน)
25
AEON
Consumer Finance
บริษัท อิออน ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน)
26
AMEX
Consumer Finance
บริษัท อเมริกัน เอ็กซ์เพรส (ไทย) จำกัด
27
AYCAP
Consumer Finance
บริษัท อยุธยา แคปปิตอล เซอร์วิสเซส จำกัด
28
DINER
Consumer Finance
บริษัท ซิตี้ คอนซูเมอร์ โปรดักส์ (ประเทศไทย) จำกัด
29
EASYBUY
Consumer Finance
บริษัท อีซี่ บาย จำกัด (มหาชน)
30
GCS
Consumer Finance
บริษัท เจเนอรัล คาร์ด เซอร์วิสเซส จำกัด
31
KCC
Consumer Finance
บริษัท บัตรกรุงศรีอยุธยา จำกัด
32
KTC
Consumer Finance
บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
33
PROMISE
Consumer Finance
บริษัท พรอมิส (ประเทศไทย) จำกัด
34
TCS
Consumer Finance
บริษัท เทสโก้ คาร์ด เซอร์วิสเซส จำกัด
35
THCAP
Consumer Finance
บริษัท ไทยเอซ แอปปิตอล จำกัด
36
VCASH
Consumer Finance
บริษัท วี แคช เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด
37
ASK
Leasing/Hire Purchase
บริษัท เอเซียเสริมกิจลีสซิ่ง จำกัด (มหาชน)
38
AYCAL
Leasing/Hire Purchase
บริษัท อยุธยา แคปปิตอล ออโต้ ลีส จำกัด (มหาชน)
39
BAF
Leasing/Hire Purchase
บริษัท บัฟ (ประเทศไทย) จำกัด
40
BGPL
Leasing/Hire Purchase
บริษัท กรุงเทพแกรนด์แปซิฟิคลีส จำกัด
41
BMW
Leasing/Hire Purchase
บริษัท บีเอ็มดับเบิลยู ลีสซิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด
42
BSLL
Leasing/Hire Purchase
บริษัท บีเอสแอล ลีสซิ่ง จำกัด
43
CAL
Leasing/Hire Purchase
บริษัท เซ็นเตอร์ ออโต้ ลีส จำกัด
44
CFGS
Leasing/Hire Purchase
บริษัท ซีเอฟจี เซอร์วิส จำกัด
45
CITIL
Leasing/Hire Purchase
บริษัท ซิตี้คอร์ป ลิสซิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด
46
CLTL
Leasing/Hire Purchase
บริษัท แคทเทอร์พิลลาร์ ลิสซิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด
47
CYK
Leasing/Hire Purchase
บริษัท ชยภาค จำกัด
48
ECL
Leasing/Hire Purchase
บริษัท ตะวันออกพาณิชย์ลิสซิ่ง จำกัด
49
FM
Leasing/Hire Purchase
บริษัท เงินสดทันใจ จำกัด
50
GL
Leasing/Hire Purchase
บริษัท กรุ๊ปลีส จำกัด (มหาชน)
51
HLT
Leasing/Hire Purchase
บริษัท ฮอนด้า ลีสซิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด
52
HW
Leasing/Hire Purchase
บริษัท ไฮเวย์ จำกัด
53
IAM
Leasing/Hire Purchase
บริษัท อะมานะฮ์ ลิสซิ่ง จำกัด (มหาชน)
54
IB
Leasing/Hire Purchase
บริษัท อินเตอร์บางจาก จำกัด
55
ICBCTL
Leasing/Hire Purchase
บริษัท ลีสซิ่งไอซีบีซี (ไทย) จำกัด
56
KL
Leasing/Hire Purchase
บริษัท ลีสซิ่งกสิกรไทย จำกัด
57
KTBL
Leasing/Hire Purchase
บริษัท กรุงไทยธุรกิจลีสซิ่ง จำกัด
58
MBLT
Leasing/Hire Purchase
บริษัท เมอร์เซเดส-เบนซ์ ลีสซิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด
59
ML
Leasing/Hire Purchase
บริษัท ไมด้า ลิสซิ่ง จำกัด (มหาชน)
60
MYGL
Leasing/Hire Purchase
บริษัท เอ็ม วาย จี ลิสซิ่ง จำกัด
61
NLT
Leasing/Hire Purchase
บริษัท นิสสัน ลีสซิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด
62
PSAL
Leasing/Hire Purchase
บริษัท พรประเสริฐออโต้ลิส จำกัด
63
SBL
Leasing/Hire Purchase
บริษัท เอส.บี.แอล.ลิสซิ่ง จำกัด
64
SCAL
Leasing/Hire Purchase
บริษัท ซัมมิท แคปปิตอล ลีสซิ่ง จำกัด
65
SCBL
Leasing/Hire Purchase
บริษัท ไทยพาณิชย์ลีสซิ่ง จำกัด
66
SGROUP
Leasing/Hire Purchase
บริษัท เอส 11 กรุ๊ป จำกัดฃ
67
SLL
Leasing/Hire Purchase
บริษัท ซิงเกอร์ ลีสซิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด
68
SLT
Leasing/Hire Purchase
บริษัท ซูซูกิ ลิสซิ่ง อินเตอร์เนชั่นแนล (ไทยแลนด์) จำกัด
69
THANI
Leasing/Hire Purchase
บริษัท ราชธานี ลิสซิ่ง จำกัด (มหาชน)
70
TIL
Leasing/Hire Purchase
บริษัท ตรีเพชรอีซูซุลิสซิ่งจำกัด
71
TLEASING
Leasing/Hire Purchase
บริษัท ที ลีสซิ่ง จำกัด
72
TLT
Leasing/Hire Purchase
บริษัท โตโยต้า ลีสซิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด
73
WL
Leasing/Hire Purchase
บริษัท เวิลด์ลีส จำกัด
74
WTS
Leasing/Hire Purchase
บริษัท วัฒนาธนสินทรัพย์ จำกัด
75
BKI
Insurance
บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน)
76
KF
Special Finance
บริษัท แฟคเตอรี แอนด์ อีควิปเมนท์ กสิกรไทย จำกัด
77
SMC
Special Finance
บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย

                     เอาเป็นว่าถ้าใครที่ไปทำธุรกรรมกู้ยืมเงินเพื่อวัตถุประสงค์อะไรกับสมาชิกทั้ง 77 แห่ง ตามที่ได้กล่าวมานี้  ท่านจะได้รับเกียรติ  ในการลงบันทึกประวัติการผ่อนชำระไปที่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด  แล้วกันนะครับ  ถ้ากู้เงินนอกเหนือจากนี้จะไม่มีประวัติแสดงครับ  แต่ทั้งนี้สมาชิกของ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด จะมีการอัพเดทอยู่เรื่อยๆนะครับ  ดังนั้นอาจจะมีการเพิ่มเติมสมาชิกเมื่อไหร่ก็ได้ครับ
               

                คราวนี้มาดูคำว่า Blacklist กันครับ  ว่าแท้ประวัติแบบไหนถึงเรียกว่า Blacklist เพราะผมเชื่อว่าหลายๆคนเข้าใจคำๆนี้ผิดไป    เนื่องจากว่าในเวลางานก็มีลูกค้าของธนาคารหลายคนชอบเข้ามาถามว่าติด Blacklist กู้ได้มั๊ย  พอถามไป ถามมาสรุปได้ว่าไม่ได้ติด Blacklist  ดังนั้นผมขอสรุปความหมายของคำว่า Blacklist ในแบบฉบับของผมดังนี้นะครับ
ตามความหมายของคนทั่วไป  คือ  ค้างชำระค่างวด  1-3 งวด หรือมากกว่านั้น  ซึ่งจริงๆลักษณะแบบนี้ เขาเรียกว่ามีประวัติการค้างชำระหนี้  ซึ่งสามารถกู้เงินจากทางธนาคารได้  หากในภายหลังมีการชำระเสร็จสิ้น  พร้อมทั้งสามารถอธิบายสาเหตุที่ค้างชำระ  ด้วยเหตุผลที่เหมาะสม และดูดี

ตามความหมายในแบบมุมของผม(เจ้าหน้าที่สินเชื่อ)  คือ  ผู้ที่มีประวัติการค้างชำระเกินกว่า 3 งวด(ยังไม่ได้ชำระหนี้)  และรวมไปถึงลูกหนี้ที่ถูกยื่นฟ้องโดยสถาบันการเงินนั้นๆ  ไม่ว่าคดียังไม่ถึงที่สุด หรือถึงที่สุดแล้ว(ศาลชี้แล้วว่าผิดจริง) ก็ตาม  ถ้าอย่างนี้แหละครับ  ในมุมส่วนตัวผมๆมองว่าคือ Black List ล่ะครับ  เพราะว่าถึงขั้นอยู่ในชั้นศาล หรือศาลชี้แล้วว่าผิดจริง  คุณไม่สามารถแก้ตัวใดๆกับทางธนาคารได้เลย  เพราะมันโดนผูกมัดด้วยข้อกฎหมายล้วนๆ (เอาสิ ถ้าคิดว่าแน่ ก็บอกไปสิ ว่าบริสุทธิ์   ศาลน่ะมั่วนิ่ม กล้าป่ะ 555+)      

                มาถึงตรงนี้เราก็ได้ทราบสาระสำคัญของเรื่อง Black List กันไปแล้วนะครับ  คราวนี้ขอผ่อนคลายด้วยเกร็ดเล็ก เกร็ดน้อยกันนะครับ

เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย เรื่อง เครดิตบูโร
1.)    ธนาคารแห่งประเทศไทย  ได้ประกาศอย่างชัดเจนว่า  ธนาคารไม่สามารถใช้ประวัติการชำระหนี้จาก เครดิตบูโร  เพื่อบอกปฏิเสธการขอกู้เงินจากลูกค้าได้  (อันนี้หากท่านใดไปกู้เงินแล้วเขาบอกว่า  เสียใจด้วยครับ  พี่กู้ไม่ได้เพราะติด เครดิตบูโร  ให้สวนกลับไปเลยนะครับ  ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยเขาบอกว่าคุณไม่มีสิทธิ์บอกปัดด้วยเหตุผลจากเครดิตบูโร  แต่อย่าบอกนะครับว่าทราบมาจากผม 555+ )

2.)    คำถามสุดยอดฮิต  ประวัติการค้างชำระต่างๆจะทำการล้างข้อมูลทุกๆกี่ปี (กรณีที่ชำระวงเงินเสร็จสิ้นแล้ว) โดยปกตินะครับประมาณ 2 ปี  แต่หากเข้าไปในเว็บไซด์ของธนาคารแห่งประเทศไทย  เขาจะบอกว่า 2-5 ปี แล้วแต่ประเภทของวงเงิน  ส่วนวงเงินที่ค้างชำระอยู่ หากไม่ชำระก็จะโชว์ไปเรื่อยๆนะครับ (อย่าเข้าใจผิดว่ามันจะหายไป)

3.)    หากใครที่ติดมีประวัติการผ่อนที่ไม่ดี  ก็อย่าพึ่งหมดหวังนะครับ  หลังจากที่ชำระหนี้เสร็จสิ้นทุกอย่างแล้ว  ก็ขอให้มีระเบียบวินัยทางการเงินให้ดี  พอผ่านไป 2 ปี ท่านก็จะเป็นคนใหม่แล้วครับ

4.)    หากท่านใดที่เคยถูกฟ้องศาลแล้วศาลชี้แล้วว่าผิด  ถึงแม้ว่าเวลาผ่านไปกี่ปีก็ตาม  และท่านได้ชำระหนี้เป็นปกติทุกอย่างแล้ว  แต่จงจำไว้ครับว่าประวัติการถูกฟ้องนั้น  จะติดตัวท่านไปตลอดสิ้นอายุไขครับ  แต่ถึงอย่างไรก็สามารถกู้เงินได้ครับ (เพียงแต่ธนาคารอาจจะพิจารณามากขึ้นกว่าปกติ)

5.)    หากท่านใดคิดว่าผ่อนไม่ไหว  และมองอนาคตแล้วว่าไม่มีทางแก้ไขแล้ว  อย่าหนีเจ้าหน้าที่ธนาคารนะครับ  แต่ให้รีบไปพบเจ้าหน้าที่เพื่อขอปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ( เขาอาจจะลดดอกเบี้ย , ลดค่างวด , หรือปรับในส่วนที่เป็นภาระส่วนเกินของท่านให้เบาลงได้บ้างครับ) แต่ก็ต้องทำใจหนึ่งอย่างนะครับ คือ ในประวัติเครดิตบูโร ของท่านก็จะมีการแสดงข้อมูลในส่วนของปรับปรุงโครงสร้างหนี้เกิดขึ้น (ซึ่งจะมีผลกระทบกับการขอสินเชื่อในอนาคต)

6.)    คนที่มีสินเชื่อ(อะไรก็ตามแต่ ไม่ว่า บ้าน, รถยนต์ , บัตรเครดิต , สินค้าอื่นๆ) ควรจะตรวจเช็คสุขภาพทางการเงินทุกๆปีครับ  ทั้งนี้ให้เข้าไปที่ธนาคารกรุงไทย , ธนชาต , อาคารสงเคราะห์ (เลือกเข้าไป 1 จาก 3 ที่นี้นะครับ อย่าเข้าไปทั้ง 3 แห่งล่ะ)  แล้วบอกเจ้าหน้าที่ว่าขอตรวจสอบเครดิตบูโร (จ่ายประมาณร้อยกว่าบาท ถ้าจำไม่ผิด)  เพื่อตรวจสอบประวัติการผ่อน และเพื่อตรวจสอบวงเงินสินเชื่อว่าถูกต้องกับที่เรามีอยู่หรือไม่ ( ทั้งนี้เพื่อป้องกันวงเงินที่เราไม่ได้ขอ แต่มีคนใช้เอกสารเราปลอมแปลง เพื่อไปขอสินเชื่อในนามเราครับ)

7.)    หากเป็นไปได้ไม่ควรค้ำประกันให้กับใครง่ายๆ  เพราะผู้ที่ติด Blacklist หลายคน  เป็นผู้ค้ำประกันการซื้อรถยนต์  แล้วผู้ซื้อไม่ผ่อน หรือผ่อนไม่ไหว  สุดท้ายผู้ค้ำประกันก็ถูกฟ้องพร้อมๆกับผู้กู้ครับ ( ผู้ค้ำประกันเป็นจำเลยที่ 2 )

สุดท้ายนะครับ  ขอสรุปตรงนี้เลยครับว่าหากติด Blacklist ตามที่ผมแจ้งไปแล้วนั้น  ไม่สามารถกู้เงินจากธนาคารได้ (แต่ถ้าเป็นสถาบันการเงินที่นอกเหนือจากธนาคารก็ยังสามารถทำได้ในบางแห่ง)  เพราะว่าธนาคารในปัจจุบันมีความเข้มข้นในเรื่องของประวัติการผ่อนชำระมากครับ  ถึงแม้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจะประกาศไว้ชัดเจนแล้วก็ตามว่า ไม่สามารถบอกปัดการขอสินเชื่อจากประวัติการผ่อนชำระของลูกค้า  แต่ในทางปฎิบัติธนาคารก็ต้องป้องกันความเสี่ยงในเรื่องนี้(เพื่อป้องกันเรื่องหนี้เสีย)   ยกเว้นเสียว่าผู้ทีเคยติด Blacklist ชำระทุกหนี้ทุกอย่างให้เป็นปกติ  และเดินประวัติให้สวยงามเสียใหม่  ก็อาจจะสามารถกลับมากู้เงินจากธนาคารได้ใหม่ครับ (แต่ก็จะยากกว่าเคสปกตินะครับ ต้องทำใจ)  ส่วนคนที่เคยมีประวัติการค้างชำระวงเงิน  จะง่ายกว่าหน่อย เพราะว่าประวัติมันจะล้างทุก 2 ปีครับ (ก็ขอแค่หลังจากที่ล้างแล้วไม่ค้างอีก ก็กู้ได้แบบสบายๆแล้ว)           By Special_Pong

3 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณค่ะ เข้าใจผิดซะนาน คือนึกว่าตัวเองติดเครดิตบูโร สรุปคือ ต้องถูกฟ้องศาลก่อนถึงจะเรียกว่าติด แต่ในกรณีที่ชำระล่าช้า หรือค้างชำระ ยังไม่ถือว่าติดเครดิต สามารถลบล้างได้ภายในสองปี ถ้าเราไปจ่ายให้หมด แล้วเดินบัญชีให้ใสกริบ.....กราบงามๆสำหรับบทความดีๆ ค่ะ

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ13 ตุลาคม 2561 เวลา 03:23

    ถ้าเช็คแล้วสถานะ เป็นโอนหนี้หรือขายหนี้สามารถกู้ได้ไมค่ะ

    ตอบลบ
  3. ถ้าเรามีหนี้ค้างประวัติหนี้รายละเอียดก้จะคงค้างอยู่ใช่ไหมถ้าเราไม่มีการชำระ

    ตอบลบ